2018-05-02 14:24:27
รถยิ่งใช้ ทำไมยิ่งอืด
รถยนต์ เมื่อเราใช้ไปนานๆ การสึกหรอของอะไหล่ต่างๆ ในรถ หรือการใช้งานก็ต้องลดลงเป็นเรื่องปกติ แล้วรู้หรือไม่ว่าสาเหตุที่ทำให้ เครื่องยนต์อืด นั้นมาจากชิ้นส่วนอะไหล่ตัวไหนบ้าง แล้วเราจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนอะไหล่ตัวไหนบ้าง ไปดูกันเลย
อะไหล่หรือชิ้นส่วนต่างๆ ในรถ ที่เราควรจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเบื้องต้น เพื่อช่วยเรียกรถให้กลับมาวิ่งได้เหมือนเดิม แรงไม่ตก สมรรถนะที่ดีขึ้น มีดังนี้
1. กรองอากาศ
ทำหน้าที่ปกป้องสิ่งแปลกปลอมตอนที่เครื่องยนต์ดูดอากาศผ่านท่อไอดี หากกรองอากาศสกปรก อากาศที่ผ่านเข้าเครื่องได้ก็มีน้อยลง ทำให้รถยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นควรหมั่นตรวจเช็คฝุ่นละออง และควรใช้กรองอากาศของแท้ดีที่สุด
2. หัวเทียน
ทำหน้าที่จุดระเบิดในกระบอกสูบ หากเสื่อมประสิทธิภาพลง จะทำให้การจุดระเบิดในกระบอกสูบทำได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ เครื่องยนต์อืด กำลังแรงตก เครื่องยนต์สั่น ดังนั้น เมื่อหัวเทียนเสื่อมควรที่จะเปลี่ยน ซึ่งหัวเทียนเป็นอะไหล่ที่ราคาไม่แพง รุ่นมาตรฐานอยู่ที่ 80-150 บาท เท่านั้นเอง และตามคำแนะนำในคู่มือรถยนต์ควรที่จะเปลี่ยนหัวเทียนประมาณ 20,000-40,000 กิโลเมตร
3. คอยล์จุดระเบิด
ทำหน้าที่ส่งไฟให้หัวเทียน ไปจุดระเบิด และหากคอยล์จุดระเบิดเสื่อมลง จะทำให้จ่ายไฟได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ เครื่องยนต์อืด เครื่องยนต์สั่น ราคาการเปลี่ยนอะไหล่คอยล์จุดระเบิดหากเป็นของแท้อยู่ที่ประมาณ 2,000 บาท เป็นต้นไป
4. กรองน้ำมันเชื้อเพลิง
ทำหน้าที่กรองสิ่งแปลกปลอมในน้ำมันเชื้อเพลิง และถ้าเกิดกรองน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มจะสกปรก การไหลของน้ำมันจึงไม่สะดวก เครื่องยนต์อืด กำลังแรงตก และมีอาการที่สตาร์ทติดยาก
5. น้ำมันเครื่องและกรองน้ำมันเครื่อง
ทำหน้าที่หล่อลื่นภายในเครื่องยนต์ และปกป้องชิ้นส่วนต่างๆ ภายใน เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งน้ำมันเครื่องจะมีความหนืดมากขึ้น แบะความใสหายไปเพราะเกิดจากการเสียดสีภายในเครื่องยนต์ และความหนืดที่ว่านี้ก็จะส่งผลให้ เครื่องยนต์อืด และทำให้กำลังแรงลดลงนั่นเอง
เมื่อทราบดังนี้แล้วรีบนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วรีบแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆนะครับ ป้องการการเสื่อมโทรมของเครื่องยนต์ที่อาจจะเพิ่มมากขึ้นครับ
ปรึกษาปัญหาเครื่องยนต์หรือนัดหมายเข้าตรวจเช็ค 02-4088444 085-3948444
Add line คลิก https://line.me/R/ti/p/%40ahq1748k
Fackbook : https://www.facebook.com/energyratchapruk/
Inbox : https://www.facebook.com/energyratchapruk/messages/
ขอบคุณข้อมูลจากauto.mthai.com และ energy-reform.com